เมนู

เพราะฉะนั้น อาฆาตในข้อนี้ จึงชื่อว่าอาฆาตในที่มิใช่เหตุ. คำที่เหลือ
ทุกแห่ง มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอาฆาตวัตถุสูตรที่ 9

จบอากังขวรรคที่ 3

10. อาฆาตปฏิวินยสูตร1


ว่าด้วยอุบายเป็นเครื่องกำจัดความอาฆาต10 ประการ


[80] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบายเป็นเครื่องจำกัดความอาฆาต 10
ประการนี้ 10 ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมกำจัดความอาฆาตว่า
บุคคลได้ประพฤติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว การประพฤติสิ่งอัน
เป็นประโยชน์จะพึงได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน 1 บุคคลกำลังประพฤติสิ่งอัน
ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การประพฤติสิ่งอันเป็นประโยชน์จะพึงได้ในบุคคล
นี้แต่ที่ไหน 1 บุคคลจักประพฤติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การ
ประพฤติสิ่งอันเป็นประโยชน์จะพึงได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน 1 ย่อมกำจัด
ความอาฆาตว่า บุคคลได้ประพฤติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เป็นที่รัก
ที่ชอบใจของเราแล้ว การประพฤติสิ่งอันเป็นประโยชน์จะพึงได้ในบุคคลนี้
แต่ที่ไหน 1 กำลังประพฤติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เป็นที่รักที่ชอบใจ
ของเรา การประพฤติสิ่งอันเป็นประโยชน์จะพึงได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน 1
จักประพฤติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา การ
ประพฤติสิ่งอันเป็นประโยชน์จะพึงได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน 1 ย่อมกำจัด
ความอาฆาตว่า บุคคลได้ประพฤติสิ่งอันเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ไม่เป็นที่รัก

1. สูตรที่ 10 ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.

ไม่เป็นที่ชอบใจของเราแล้ว การประพฤติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์จะพึงได้
ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน 1 กำลังประพฤติสิ่งอันเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ไม่เป็น
ที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา การประพฤติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์จะพึง
ได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน 1 จักประพฤติสิ่งอันเป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่
เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา การประพฤติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์จะ
พึงได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน 1 ย่อมไม่โกรธในที่อันไม่ควร 1 ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อุบายเป็นเครื่องกำจัดความอาฆาต 10 ประการนี้แล.
จบอาฆาตปฎิวินยสูตรที่ 10
จบอากังขวรรคที่ 3

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. อากังขสูตร 2. กัณฎกสูตร 3. อิฎฐสูตร 4. วัตถุสูตร
5. มิคสาลาสูตร 6. อภัพพสูตร 7. กากสูตร 8. นิคันถสูตร
9. อาฆาตวัตถุสูตร 10. อาฆาตปฏิวินยสูตร.